เมนู

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์มี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้
ข้ามโอฆสงสาร.
พระศาสนานี้ เกลื่อนกล่นด้วยพระอรหันต์ ผู้มี
วิชชา 3 มีอภิญญา 6 ผู้ถึงกำลังคงที่ดี.
พระอรหันต์เหล่านั้นทั้งหมด มียศที่หาประมาณ
มิได้ หลุดพ้น ปราศจากอุปธิ ท่านผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงแสงสว่างคือญาณแล้ว ต่างก็นิพพานไป.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺโท ตาราคเณ ยถา ความว่า
จันทร์เพ็ญในท้องฟ้า ย่อมส่องหมู่ดาวให้สว่าง ให้ปรากฏ ฉันใด พระสุเมธ-
พุทธเจ้าก็ทรงส่องทุกทิศให้สว่าง ฉันนั้นเหมือนกัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
จนฺโท ปณฺณรโส ยถา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า จกฺกวตฺติมณี นาม ความว่า มณีรัตนะของพระเจ้าจักร-
พรรดิ์ ยาว 4 ศอก ใหญ่เท่ากับดุมเกวียน มีมณีแปดหมื่นสี่พันเป็นบริวาร
มาถึงมณีรัตนะที่ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งจากเวปุลลบรรพต ดุจเรียกเอาความงาม
ที่เกิดจากสิริของรัชนีกรเต็มดวงในฤดูสารทอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว รัศมีของ
มณีรัตนะนั้นที่มาอย่างนั้น ย่อมแผ่ไปตลอดโอกาสประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ
ฉันใด รัตนะคือพระรัศมีก็แผ่ไปโยชน์หนึ่ง โดยรอบ จากพระสรีระของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า เตวิชฺชฉฬภิญฺเญหิ ความว่า ผู้มีวิชชา 3 และอภิญญา 6.
บทว่า พลปฺปตฺเตหิ ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งฤทธิ์. บทว่า ตาทิหิ
ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่. บทว่า สมากุลํ ได้แก่ เกลื่อนกล่น คือ
รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะอย่างเดียวกัน. ท่านกล่าวว่า อิทํ หมายถึง พระศาสนา
หรือพื้นแผ่นดิน. บทว่า อมิตยสา ได้แก่ ผู้มีบริวารหาประมาณมิได้ หรือ
ผู้มีเกียรติก้องที่ชั่งไม่ได้. บทว่า นิรูปธี ได้แก่ เว้นจากอุปธิ 4. คำที่เหลือ
ในคาถาทั้งหลายในที่นี้ทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้า

12. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ 12



ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาติพุทธเจ้า



[13] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเองมีพระพุทธเจ้าพระ-
นามว่า สุชาตะ ผู้นำโลก ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์
มีพระศอดังโคอุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ อัน
บุคคลเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองด้วยสิริย่อมงามสง่า
ทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือนดวง
อาทิตย์ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดงธรรม
อันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้ในการแสดง
ธรรม ครั้งที่ 1.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ
มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก. อภิสมัยครั้งที่ 2
ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ เสด็จเข้า
เฝ้าพระชนก อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.